ลดปริมาณโซเดียมลง, โซเดียมน้อยกว่า (Reduced Sodium)

11/01/2022

<< BACK

หลักเกณฑ์การคัดสินค้า
• ลดโซเดียมลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นอาหารชนิดเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยลดลงตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป และปริมาณโซเดียมที่ลดลงจะต้องไม่น้อยกว่า 120 มก. ต่ออาหาร 100 กรัม (ของแข็ง)
• ลดโซเดียมลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นอาหารชนิดเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยลดลงตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป และปริมาณโซเดียมที่ลดลงจะต้องไม่น้อยกว่า 60 มก. ต่ออาหาร 100 กรัม (ของเหลว)

เกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ ประกอบด้วยโซเดียม 40% และคลอไรด์ 60% นอกจากช่วยเพิ่มรสชาติในอาหารแล้วยังนิยมใช้ถนอมอาหาร ในหนึ่งวันร่างกายต้องการโซเดียมปริมาณเล็กน้อยเพียงวันละประมาณ 500 มก.เพื่อช่วยกระตุ้นเส้นประสาท การยืดหดตัวกล้ามเนื้อ การรักษาสมดุลน้ำและแร่ธาตุภายในและภายนอกเซลล์ ช่วยนำกรดอะมิโนและสารอื่นๆ ไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมสมดุลกรด - ด่าง ในร่างกาย แต่ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย โดยกินเฉลี่ยวันละ 4,000-3,000มก. การกินโซเดียมมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักจนเสื่อมเร็วกว่าปกติ เมื่อไตขับโซเดียมออกจากร่างกายไม่ได้ ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง แคลเซียมบางส่วนอาจถูกดึงออกจากกระดูก และอื่นๆ อีกมาก การเลือกทานอาหารโซเดียมต่ำจึงเป็นการถนอมไตที่ดีที่สุด

ปริมาณโซเดียมที่แต่ละวัยควรได้ใน 1 วัน
ความเค็มทำให้อาหารมีรสกล่อมกล่อมมากขึ้น ทำให้หลายคนติดรสเค็มไม่รู้ตัว เพื่อสุขภาพที่ดีควรทานเกลือวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (6 กรัม) หรือโซเดียม 2,300 มิลลิกรัม Coming Soon!

แหล่งของอาหารที่มีโซเดียม
1.โซเดียมมีอยู่ในอาหรเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อ นม ไข่ ที่มีโซเดียมสูงกว่าผักผลไม้ ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง (ดิบ)
2.เครื่องปรุงรส Coming Soon!
3. อาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป่องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ เนื้อแปรรูปไส้กรอก เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า และผัก/ผลไม้ดอง อาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมทาน
4. อาหารที่ไม่เค็มแต่มีโซเดียมแฝง อาหารบางชนิดทานแล้วไม่รู้สึกเค็ม แต่มีโซเดียมสูงโดยเช่น เครื่องปรุงรสบางชนิด อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารแช่แข็ง เบเกอรี่ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว
• เครื่องปรุง ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ ก็มีโซเดียมสูงไม่แพ้กัน
• อาหารแปรรูป แฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง อาหารหมักดอง เช่น ผักกาดดอง หรือไข่เค็ม
• อาหารที่ใส่สารปรุงแต่งอาหาร สารกันบูด หรือสารกันเชื้อราในขนมปัง
• ขนมที่เติมผงฟู ได้แก่ เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง และแป้งสำเร็จรูป (ผงฟูทำขนมมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ)
• อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป Coming Soon!

เทคนิคในการลดเค็ม
1. ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง
2. ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารกรุบกรอบ อาหารจานด่วน
3. ลดปริมาณน้ำจิ้ม ซอสจิ้มต่างๆ
4. ใช้สมุนไพรแต่งรสและเพิ่มกลิ่นหอมของอาหาร เช่น มะนาว ขิง ข่า ตะไคร้ พริก หอมหัวใหญ่
5. ใช้เครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำ แต่เครื่องปรุงประเภทนี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจหรือผู้ที่จำกัดปริมาณโพแทสเซียมเพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะลดเกลือแล้วใช้โพแทสเซียมคลอไรด์แทน

วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มรสอูมามิ ลดการใช้เกลือลงได้
- กระเทียม ผงพริกปาปริก้า พริกป่น พริกไทยป่น ผงหอมใหญ่ Nutritional yeast
- น้ำส้มสายชูบัลซามิค แอปเปิ้ลไซเดอร์ Coconut aminos น้ำมันเห็ดทรัฟเฟิล
- โรสแมรี่ ผิวมะนาว ขิง ผักชีลาว ผักชี อบเชย Sage Tarragon